บทที่ 3 ตอน 3 การเขียนคลาสในภาษา Visual Basic.NET
การเขียนคลาสในภาษา Visual
Basic.NET
คลาสหรือแบบแปลนของวัตถุ
จะถูกเขียนอยู่ในไฟล์ที่มีนามสกุล .Vb เช่น คลาสสำหรับการคำนวณโปรแกรมคิดเลขอย่างง่ายอาจจะถูกเขียนอยู่ในไฟล์ชื่อ
clsTotal.Vb และการตั้งชื่อคลาสนั้นจะต้องมีคำว่า cls
นำหน้าเพื่อเขียนโปรแกรมให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
รูปแบบการประกาศคลาส
|1| Public Class clsTotal
|2|
|3| End Class
บรรทัดที่ 1 เป็นการบอกให้คอมไพเลอร์ทราบว่าตอนนี้จะมีการประกาศคลาสชื่อว่า
clsTotal
บรรทัดที่ 3 คือคำสั่งในการสิ้นสุดของคลาสนี้ ดังนั้นบรรทัดนี้จะต้องมี
บรรทัดที่ 3 คือคำสั่งในการสิ้นสุดของคลาสนี้ ดังนั้นบรรทัดนี้จะต้องมี
รูปแบบการสร้างออบเจ็กต์หรือวัตถุจากคลาส
ชื่อออบเจ็กต์ As New ชื่อคลาส()
ตัวอย่างการสร้างออบเจ็กต์
Dim objclsTotal
As New clsTotal
Dim objclsTotal2 As New clsTotal
Dim objclsTotal2 As New clsTotal
การตั้งชื่อจะใช้ obj
นำหน้าชื่อของคลาสเพื่อกับการเขียนโปรแกรม
ในกรณีที่มีการเขียนโปรแกรมหลายคนจะได้เกิดความเข้าใจในชุดคำสั่งในแนวทางเดียวกัน
การสร้างคุณสมบัติ (Property) ในคลาส
นักศึกษาสามารถสร้างคุณสมบัติในคลาสได้ ซึ่งจะวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยและความยืดหยุ่นในการรับค่าและส่งค่าไปยังภายนอกเช่นเดียวกับการใช้ตัวแปรในคลาส
ซึ่งมีส่วนประกอบ คือ
- ส่วนของ Get คือ
เป็นการคืนค่าหรือส่งค่ากลับไปยังวัตถุที่เรียกมา ซึ่งจะใช้คำสั่ง Return ในการคืนค่ากลับ
- ส่วนของ Set คือ เป็นการรับค่าจากภายนอกคลาสเพื่อใช้ในการกำหนดค่าต่างๆผ่านทาง Property ของคลาส
(2) สร้างคลาสสำหรับการประมวลผล
- ส่วนของ Set คือ เป็นการรับค่าจากภายนอกคลาสเพื่อใช้ในการกำหนดค่าต่างๆผ่านทาง Property ของคลาส
ตัวอย่างที่
1 โปรแกรมเครื่องบวกเลขอย่างง่ายโดยการรับค่าจาก TextBox
เข้ามา 2 ค่าผ่าน TxtNu1 และ TxtNum2 แล้วจึงแสดงผลออกทางกล่องข้อความ (Message
box)
(1) โดยการออกแบบหน้าจอดังภาพ
(1) โดยการออกแบบหน้าจอดังภาพ
(3) เขียนโค้ดคำสั่งในส่วนของคลาสฟอร์ม
โดยที่ (....) ในบรรทัดที่
3 จะหมายถึงรายการพารามิเตอร์ของเหตุการณ์ที่ได้ลบออก เนื่องจากบรรทัดจะยาวเกินไปซึ่งให้นักศึกษามีความเข้าใจตรงกันว่า
ส่วนที่เป็น (....) ก็คือ (ByVal sender As
System.Object, ByVal e As System.EventArgs)
|1| Public Class Form1
|2|
|3| Private Sub btnSum_Click(....) Handles
btnSum.Click
|4| Dim objclsTotal As New clsTotal
|5| objclsTotal.Num1 = txtNum1.Text
|6| objclsTotal.Num2 = txtNum2.Text
|7| MsgBox(objclsTotal.Sum)
|8| End Sub
|9|
|10| End Class
บรรทัดที่ 4
คือการสร้างตัวแปรออบเจ็กต์
บรรทัดที่ 5 และ 6 คือการส่งค่าของ Textbox ไปยังคุณสมบัติ Num1 และ Num2 ในออบเจ็กต์
บรรทัดที่ 7
คือ การเรียกใช้เมธอด Sum แล้วแสดงบนกล่องข้อความ
(4) รันโปรแกรมโดยการกดปุ่ม F5
ป้อนค่าคงที่ 20 ในช่องที่ 1 และป้อนค่าคงที่ 11
ในช่องที่ 2 จากนั้นกดปุ่ม คำนวณ ผลลัพธ์ที่กล่องข้อความคือ 31
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น