บทที่ 3 ตอน 5 การแสดงผลสูตรคูณซึ่งกำหนดค่าคงที่เลขคูณผ่านทาง Textbox

ตัวอย่างที่ 3 โปรแกรมนี้ใช้ในการแสดงผลสูตรคูณซึ่งกำหนดค่าคงที่เลขคูณผ่านทาง Textbox และให้วนรอบจำนวน 12 รอบ โดยใช้การทำซ้ำแบบ Do Until เมื่อ I มีค่ามากกว่า 12 จริง ก็จะหยุดจากการทำซ้ำนี้ และแสดงผลออกทางกล่องข้อความ

(1)  ออกแบบหน้าจอและกำหนดค่าคุณสมบัติ Name ของตัวควบคุมดังภาพ
(2)  สร้างคลาส clsMultipy.vb สำหรับคลาสนี้จะมีลักษณะเหมือนกับตัวอย่างที่ 2 คือ มีการรับและส่งค่าผ่านทางคุณสมบัติของคลาส ในตัวอย่างนี้คือ Number  และมีคำสั่ง vbCrLf เพื่อใช้ในการตัดบรรทัดซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับการ Enter
(3)  เขียนโค้ดคำสั่งในส่วนของคลาสฟอร์ม
|1|  Public Class Form1

|2|      Private Sub btnCal_Click(....) Handles btnCal.Click
|3|          Dim objclsMultipy As New clsMultipy
|4|          Dim s As String
|5|          With objclsMultipy
|6|              .number = txtNum.Text
|7|              s = .number
|8|          End With
|9|          MsgBox(s)
|10|     End Sub
|11| End Class

บรรทัดที่ 3 คือ การประกาศตัวแปรออบเจ็กต์ที่เกิดจากคลาส clsMultipy
บรรทัดที่ 5 และ 8  คือ โครงสร้างคำสั่ง With เพื่อการเขียนโปรแกรมที่สั้นลง
บรรทัดที่ 6 คือ ส่งค่าจาก TextBox ไปยังคุณสมบัติ obj.number (ขวาส่ง ซ้ายรับ)
บรรทัดที่ 7 คือ ส่งค่าผลการคูณไปยังตัวแปร S โดยการส่งค่าจากคุณสมบัติ obj. number
บรรทัดที่ 9 คือ แสดงผลการคูณจากตัวแปร S ในกล่องข้อความ

(4) รันโปรแกรมและแสดงผล โดยใส่ค่าตัวเลขการคูณซึ่งในตัวอย่างคือ 9 เมื่อกดปุ่ม คำนวณ จะแสดงผลในกล่องข้อความ ดังภาพ

สรุป 


จากเนื้อหาและตัวอย่างที่ผ่านมานั้น จะเห็นว่าภายในคลาสจะประกอบไปด้วย ตัวแปรที่ใช้ภายในคลาส  พร็อพเพอร์ตี้  และเมธอด  โดยมีส่วนที่ติดต่อภายนอกเพื่อส่งข้อความ หรือ Message คือ พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งการใช้พร็อพเพอร์ตี้นั้นจะมีประโยชน์มากในการเพิ่มประสิทธิภาพในการรับและส่งข้อมูลระหว่างออบเจ็กต์ และในการตั้งชื่อคำนำหน้าของคลาสคือ cls และการตั้งชื่อออบเจ็กต์จะต้องมีคำนำหน้าคือ obj ซึ่งจะเป็นความเข้าใจร่วมกันในการเขียนโปรแกรม
แต่การเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานจริงนั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบเหมือนกับตัวอย่าง ซึ่งอาจจะมีเพียง เมธอด และตัวแปร ก็ได้ แต่นั้นจะต้องคำนึงถึงการแก้ไขชุดคำสั่งในอนาคตและการเขียนโปรแกรมที่ต้องมีทีมงานร่วมกันหลายคน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 11 ตอน 3 การออกแบบรายงานด้วย Crystal Report

บทที่ 6 กระบวนการพอลิมอร์ฟิซึม (Polymorphism)

บทที่ 11 ตอน 3 การออกแบบรายงานด้วย Crystal Report Ex2