บทที่ 7 ตอน 2 คลาส StringBuilder
2. คลาส StringBuilder
การจะเรียกใช้คลาสนี้จะต้องนำเข้าเนมสเปรซ
System.Text
เข้ามาจึงจะสามารถใช้คลาส StringBuilder
ได้ในตัวอย่างต่อไปนี้จะขอต่อเนื่องจากตัวอย่างที่ผ่านมาเป็นตัวทดสอบ
(1)
แก้ไขและเพิ่มคำสั่งในบรรทัดที่ 2 7 10 และ
13 ดังนี้
|1| Imports System.Diagnostics
|2| Imports System.Text
|3| Public Class Form1
|4| Private Sub Button1_Click(....)
Handles Button1.Click
|5| Dim objStopwatch As New Stopwatch
|6| Dim i As Double
|7| Dim s As new StringBuilder
|8| objStopwatch.Start()
|9| For i = 1 To 10000
|10| s.AppendLine("รักษ์เลย" & i)
|11| Next
|12| objStopwatch.Stop()
|13| TextBox1.Text
= s.ToString
|14|
MsgBox(objStopwatch.ElapsedMilliseconds)
|15| End Sub
|16| End Class
(2) จากนั้นเมื่อรันโปรแกรมแล้วกดปุ่ม Test For จะเห็นว่าในหนึ่งหมื่นรอบจะใช้เวลาเพียง 11 มินลิวินาทีเท่านั้น ซึ่งจากเดิมที่ใช้การเชื่อมต่อสตริงโดยทั่วไปจะใช้เวลาถึง
780 มินลิวินาที
(3) ปรับจำนวนการวนรอบให้เท่ากับหนึ่งแสนรอบ หรือ
หนึ่งล้านรอบสังเกตเวลาที่แสดงผลไม่แตกต่างกันมากนัก (เหตุที่มีความหน่วงอยู่เนื่องจากการส่งค่าตัวอักษรจำนวนหลายบรรทัดไปยัง
Textbox
จะต้องใช้เวลา)
3. เมธอด DoEvents()
จะพบว่าการเขียนโปรแกรมหากมีการทำซ้ำโดยมีชุดคำสั่งที่ทำให้ซีพียูประมวลหนักๆ
จะทำให้ซีพียูไม่ยอมทำงานอื่นใน Application นั้น (Not Responding) การแก้ไขปัญหานี้จะต้องใช้เมธอด Doevent() เพื่อสั่งให้ซีพียูยอมทำงานอื่นได้ แต่สำหรับการทำเช่นนี้จะพบกว่าระยะเวลาในการทำซ้ำจะมากขึ้น
ดังนั้นการคิดกระบวนการแก้ไขปัญหา (Algorithm)
แทนการใช้เมธอด DoEvent() จะเป็นสิ่งที่ดีกว่า
รูปแบบคือ Application.DoEvents()
(1) เพิ่มเมธอด DoEvents() เข้าไปในบรรทัดที่ 11 จากนั้นทดสอบโปรแกรมจะพบว่าโปรแกรมไม่หยุดค้าง
ดังนี้
|1| Imports System.Diagnostics
|2| Imports System.Text
|3| Public Class Form1
|4| Private Sub Button1_Click(....)
Handles Button1.Click
|5| Dim objStopwatch As New Stopwatch
|6| Dim i As Double
|7| Dim s As new StringBuilder
|8| objStopwatch.Start()
|9| For i = 1 To 1000000
|10| s.AppendLine("รักษ์เลย" & i)
|11| Application.DoEvents()
|12| Next
|13| objStopwatch.Stop()
|14| TextBox1.Text =
s.ToString
|15|
MsgBox(objStopwatch.ElapsedMilliseconds)
|16| End Sub
|17| End Class
(2) เมื่อรันโปรแกรมในการทำซ้ำหนึ่งล้านรอบ
แล้วลงขยับฟอร์มขณะรันจะสั่งเกตว่าสามารถใช้งานได้
และสังเกตเวลาในการทำซ้ำที่เพิ่มขึ้น
4. การตรวจจับข้อผิดพลาด
โดยคำสั่ง Try… Catch
หากมีคำสั่งที่มีข้อผิดพลาด
(Invalid)
ในขณะที่รันโปรแกรมในเครื่องผู้ใช้จะทำให้โปรแกรมปิดตัวเองลงไปโดยอัตโนมัติ
ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นในการพัฒนาโปรแกรม
(1) จากตัวอย่างคือการส่งค่าสตริง ไปให้ integer ซึ่งไม่สามารถส่งค่าได้
(2) จากเขียนคำสั่ง Try Catch เพื่อดักจับข้อผิดพลาด
ดังนี้
|1| Public Class Form1
|2| Private Sub Button1_Click(....) Handles
Button1.Click
|3| Try
|4| Dim i As Integer =
"LRU"
|5| Catch ex As Exception
|6| MsgBox("พบข้อผิดพลาด : " & ex.Message)
|7| End Try
|8| End Sub
|9| End Class
(3) จากนั้นรันโปรแกรมจะพบการแจ้งรายละเอียดข้อผิดพลาดซึ่งโปรแกรมก็ยังสามารถทำงานอื่นได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น