บทที่ 1 ตอน 2 ตัวอย่าง การตรวจสอบคะแนนทีป้อนเข้ามา
ตัวอย่าง การตรวจสอบคะแนนทีป้อนเข้ามา ถ้าได้คะแนน 60 ขึ้นไป จะมีผลลัพธ์คือ “ผ่าน” แต่หากต่ำกว่า 60 จะมีผลลัพธ์คือ “ไม่ผ่าน” จะพบว่าการเขียนโปรแกรมลักษณะนี้จะมองเป็นการเลือกทำแบบสองทิศทาง จากตัวอย่างเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จจะทำงานหลังคำสั่ง else
1.3 การเลือกทำแบบ if…ElseIf…
การทำงานของฟังก์ชั่น if.. ElseIf แบบหลายทางเลือกจะทำการเปรียบเทียบ
ถ้าเงื่อนไขที่ 1 เป็นจริงจะทำงานในนิพจน์ที่ 1 หากเป็นเท็จจะเปรียบเทียบเงื่อนไขที่ 2 ไปเรื่อยจนกว่าจะครบทุกเงื่อนไข
รูปแบบ
If เงื่อนไขที่
1 Then
นิพจน์ที่ 1 จะทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็น จริง
Elseif เงื่อนไขที่ 2 Then
นิพจน์ที่ 2 จะทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็น เท็จ
Else
นิพจน์ที่ 3 หากไม่มีเงื่อนไขใดเป็นจริง
End if
นิพจน์ที่ 1 จะทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็น จริง
Elseif เงื่อนไขที่ 2 Then
นิพจน์ที่ 2 จะทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็น เท็จ
Else
นิพจน์ที่ 3 หากไม่มีเงื่อนไขใดเป็นจริง
End if
ตัวอย่าง โปรแกรมตัดเกรด
แบบ 5 เกรด (A-E)
ตามเงื่อนไขของคะแนนคือ ถ้าคะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไปผลลัพธ์คือ
A , ถ้าคะแนนตั้งแต่ 70 ขึ้นไปผลลัพธ์คือ B ถ้าคะแนนตั้งแต่ 60 ขึ้นไปผลลัพธ์คือ
C , ถ้าคะแนนตั้งแต่ 50 ขึ้นไปผลลัพธ์คือ D ถ้าน้อยกว่า 50 ผลลัพธ์คือ
E , และหากไม่ตรงเงื่อนไขใดๆ
ผลลัพธ์คือ Error
นักศึกษาทดลองเปลี่ยนแปลงค่าคะแนนจาก
70
เป็นคะแนนอื่น หรือ
เขียนคำสั่งเพิ่มเติมเพื่อรับค่าคะแนนจะแป้นคีย์บอร์ด
1.3 การเลือกทำแบบ Select
Case
การทำงานที่ต้องมีเงื่อนไขหลายทิศทาง สามารถนำคำสั่ง if มาซ้อนๆ กัน แต่หากแยกเป็นกรณีการใช้คำสั่ง Select Case จะสะดวกกว่า โดยจะเขียนเงื่อนไขไว้หลังคำสั่ง Selected Case … และตรวจสอบเงื่อนไขกับค่าคงที่หลัก Case ที่ได้ระบุไว้
รูปแบบ
Select Case เงื่อนไขที่
Case ค่าที่หนึ่ง: นิพจน์คำสั่งที่ 1
Case ค่าที่สอง: นิพจน์คำสั่งที่ 2
Case ค่าที่สาม: นิพจน์คำสั่งที่ 3
Case Else: นิพจน์คำสั่งที่ 4 เมื่อค่าไม่ตรงตามเงื่อนไข
End Select
Case ค่าที่หนึ่ง: นิพจน์คำสั่งที่ 1
Case ค่าที่สอง: นิพจน์คำสั่งที่ 2
Case ค่าที่สาม: นิพจน์คำสั่งที่ 3
Case Else: นิพจน์คำสั่งที่ 4 เมื่อค่าไม่ตรงตามเงื่อนไข
End Select
ตัวอย่าง เป็นการจำลองในการเลือกตัวเลือกเมื่อต้องการ
Format
drive ซึ่งระบบจะมีข้อความถามเพื่อยืนยัน โดยใช้คำสั่ง if ร่วมกับตัวดำเนินการ OR เมื่อผู้ใช้กดปุ่ม “Y”
หรือ “y” และ “N” หรือ
“n” เข้าไป แต่หากผู้ใช้ป้อนผิดจะแสดงข้อผิดพลาด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น