บทที่1 การเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างเพื่อควบคุมคำสั่ง

การเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างเพื่อควบคุมคำสั่ง
เหตุผลหนึ่งในการที่จะต้องเขียนโปรแกรมก็คือ เพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากที่สุด โดยการเขียนโปรแกรมสิ่งที่แรกที่จะต้องทำความเข้าใจก็คือ ต้องทราบถึงปัญหาว่าโจทย์ต้องการอะไรโดยพิจารณาจาก  Input และ Output ต่อไปก็คือจะต้องคิดกระบวนการ (Process) เพื่อหาผลลัพธ์ตาม Output ที่ต้องการ ซึ่งในการเขียนโปรแกรมแบบเดิมที่นักศึกษาเคยเรียนมานั้นส่วนมากจะคุ้นเคยกับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง ซึ่งอาศัยโครงสร้างที่จำเป็นต่อการเขียนโปรแกรมอยู่ 3 แบบ คือ การทำงานเรียงลำดับ การทำงานแบบมีเงื่อนไข และ การทำซ้ำ ซึ่งในความเป็นจริงในการเขียนโปรแกรมนั้น เราจะต้องนำ โครงสร้างทั้ง 3 แบบมาประยุกต์เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาตามที่โจทย์ต้องการ
ในบทนี้เป็นการเขียนโปรแกรมโดยใช้ Console ดังนั้นหากนักศึกษายังไม่ได้ศึกษารูปแบบคำสั่งในการเพื่อเขียนโปรแกรมใน Console ซึ่งนักศึกษาสามารถศึกษาการเขียนโปรแกรมบน Console ได้จากภาคผนวก

1.     คำสั่งควบคุมแบบเลือกทำ
1.1 การเลือกทำแบบ if การเลือกทำทางเดียวจะใช้คำสั่ง if ในการตรวจสอบเงื่อนไขและผลลัพธ์จะการตรวจสอบที่ได้จะมีค่า True กับ false ดังนี้
ตัวอย่าง  การตรวจสอบรหัสผ่านว่าเป็น “lru” หรือไม่ ด้วยคำสั่ง if หากถูกต้องจะแสดงคำว่า “***  Right ***”
    การแสดงผล

หากการตรวจสอบเงื่อนไขถูกต้อง ระบบจะทำงานหลังคำสั่ง Then และทำงานนิพจน์จนถึงบรรทัดที่ 12 คือ End if แต่หาก รหัสผ่านไม่ถูกต้องจะไม่แสดงค่า เนื่องจากระบบกระโดดไปยังบรรทัดที่ 12 คือ End if       

 1.2  การเลือกทำแบบ  if…else  เป็นการเลือกทำสองทิศทางหรือเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้คำสั่ง if…else ถ้าหากเงื่อนไขเป็นจริง จะทำงานหลักคำสั่ง Then แต่หากเงื่อนไขเป็นเท็จ จะทำงานหลัก


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 11 ตอน 3 การออกแบบรายงานด้วย Crystal Report

บทที่ 6 กระบวนการพอลิมอร์ฟิซึม (Polymorphism)

บทที่ 11 ตอน 3 การออกแบบรายงานด้วย Crystal Report Ex2